วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

My Hero

Roj Singhakul





โรจน์ สิงหกุล ดีไซเนอร์และเจ้าของ ISSUE

หลังจากจบการศึกษาที่วิทยาลัยไทยวิจิตรศิลป์ คณะ ศิลปกรรม, โรจน์ตระหนักได้ว่า เค้าหลงใหลในด้านแฟชั่น และตัดสินใจเปิดร้านเล็กๆ โดยที่ไม่ได้คิดถึงเรื่องลำดับความสำคัญของแฟชั่น ในปัจจุบัน โรจน์เป็นเจ้าของและเป็นคนออกแบบงานแฟชั่น เขาได้ใช้ความรู้ ประสบการณ์ และความที่มีใจรักในการออกแบบมาสร้างสรรค์เป็นผลงานต่าง ๆ ด้วยความที่เขาเป็นคนชอบท่องเที่ยว เขาจึงเสาะหาสถานที่ใหม่ๆ เพื่อค้นหาวัตถุใหม่ๆ ที่น่าสนใจต่างๆ สำหรับผลงานที่กำลังจะออกมา โรจน์ได้ถูกเชิญเป็นแขกในงานแสดงโชว์เสื้อผ้าของเขาในรายการโทรทัศน์ tyra-bank's american next top model cycle 6. นอกเหนือจากนั้น งานเสื้อผ้าได้ถูกลงในนิตยาสารชื่อดังมากมาย อาทิเช่น teen vobue, L'officiel; paris clash ด้วยความสามารถของเค้า ทำให้เค้าประสบความสำเร็จและเป็นที่รู้จักในวงการแฟชั่น




โรจน์ เผยถึงที่มาของการออกแบบcollection ต่างๆว่า เป็นการทดลองทำสิ่งใหม่ๆ การนำเสนอสิ่งที่ไม่น่าจะไปกันได้มาใส่ในชิ้นงาน เราพยายามทำสิ่งที่ท้าทาย ถือว่าเป็นcollectionแห่งการทดลอง เรียนรู้ ใช้เทคนิคใหม่ๆ อย่างคู่สีที่ไม่เคยคิดจะจับคู่กัน ก็นำมาใช้ โดยได้แรงบันดาลใจ มาจากความสมดุลของการดำเนินชีวิต จุดเด่นก็จะยังคงเน้น เรื่องของงานฝีมือ เทคนิคการปัก งานสอย และเย็บด้วยมือ ทั้งนี้ก็รวมไปถึงผ้าลายพิเศษที่ทำ ขึ้นเฉพาะcollection ต่างๆ เท่านั้น













Concept ในการออกแบบ
เสื้อผ้าคือเครื่องประดับที่สำคัญต่อชีวิตประจำวันของเรา เสื้อผ้าที่เราใส่เป็นเครื่องบ่งบอกนิสัยและบุคลิกส่วนตัวของเรา มันสะท้อนให้เห็นในด้านประสบการณ์ ความเชื่อ มุมมองต่อโลก และการออกแบบของเรา





Philosophy (ปรัชญา)
เราเชื่อในเรื่องส่วนบุคคล และเรายึดมั่นในความหลากหลายของทุกๆ วัฒนธรรมconceptของชิ้นงานเรา คือ ความกรุณา และ ไม่ยอมแพ้ในความรัก อันที่ได้แรงบันดาลใจโดยthe wisdoms of H.H.Dalai LAma XIV ผู้ออกแบบและก่อตั้ง โรจน์ สิงหกุล มีความเชื่อในเรื่องปรัชญาของกรรมดีและกรรมชั่ว และความสามารถในความเท่าเทียมในด้านเข้าใจและสร้างสรรค์ สามารถนำมาสู่บุคลิกลักษณะของมนุษย์อย่ายอมแพ้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น H.H. Dalai Lama XIV





































วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Re-Design Thai Eco-Label



























วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

TCDC

ชิ้นที่1











ผลงานชิ้นนี้มีชื่อว่า THE PIGPIG FISHFISH STORY หรือภาษาไทยแปลว่า เรื่องหมูหมู ปลาปลา กำกับภาพยนตร์โดย คามิน เจริญสุข ซึ่งเป็นรุ่นพี่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยลายละเอียดของเรื่องนี้ไม่ได้บอกไว้ในงาน แต่จากที่ได้ยืนชมภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ เรื่องนี้ก็ออกแนวประมาณว่าใครเป็นต้นเหตุในเรื่องนี้กันแน่ ซึ่งในภาพยนตร์นี้มี 2 เรื่อง เรื่องแรกเป็นเรื่องของเทพเจ้าที่ชื่อชอบการรับประทานหัวหมู เรื่องที่สองเป็นเรื่องของปลาที่จะถูกทำเป็นต้มยำปลา เรื่องแรกจะแสดงให้เห็นตั้งแต่ต้นว่าหัวหมูมาได้อย่างไร และสรุปแล้วใครที่เป็นคนผิด ซึ่งในเรื่องมีตั้งแต่คนเลี้ยงหมู เจ้าของโรงฆ่าหมู คนที่ฆ่าหมู คนที่ขายหัวหมู ตามลำดับลงมาถึงคนที่ซื้อแล้วนำมาไหว้เจ้าเพื่อขอพรจากท่าน แล้วสรุปว่าใครกันแน่ที่ผิด ที่บาปที่สุด

โดยส่วนตัวแล้วชอบผลงานชิ้นนี้เพราะเห็นว่า มีความคิดที่ดี แปลกไปจากงานอื่น ๆ เป็นการดึงพฤติกรรมต่างๆ อาชีพ หรือนิสัยของคนเรามาเล่น และทำได้ออกมาอย่างน่าสนใจ การรีทัชภาพก็เนียน ดูแล้วเป็นธรรมชาติ เห็นแล้วรู้สึกน่าติดตาม และรู้สึกดีใจมากที่ได้เห็นผลงานของรุ่นพี่ไปอยู่ในงานTCDC คะ...





ชิ้นที่ 2








Affection…
คำว่า Affection มีความหมายแปลว่า ความรัก ความเสน่หา ความชอบ ความเป็นมิตรและอารมณ์ สาเหตุที่เจ้าของผลงานใช้ชื่อนี้เพราะคำนี้มีความหมายเกี่ยวกับความรัก และแปลออกมาได้หลายความหมายแตกต่างกันออกไป


Techniques : Music Video ทำขึ้นในรูปแบบของ Stop Motion ซึ่งเป็นการใช้กล้องถ่ายรูป ถ่ายทีละภาพ นำมาเรียงต่อกัน เพื่อให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว ความยาวของเนื้องานประมาณ 4 นาที ใช้ภาพประมาณสองพันกว่าภาพ
Inspiration : แรงบันดาลใจในการทำผลงานชิ้นนี้ ได้มาจากประสบการณ์จริงจากคนใกล้ชิด จึงนำประสบการณ์นั้นถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ Music Video
Purpose : เพื่อสะท้อนสภาพสังคมในปัจจุบัน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นง่าย ๆ ใกล้ตัว อยากให้ผู้ชม เมื่อชมแล้วกลับไปบ้าน ดูแลใส่ใจคนรอบข้างมากขึ้น เพื่อช่วยกันเยียวยา รักษาพวกคนเหล่านั้นก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

ที่เลือกผลงานงานชิ้นนี้เพราะชอบเทคนิคการถ่ายภาพแล้วนำมาเรียงต่อกันเป็นเรื่องราว ซึ่งต้องถ่ายภาพเป็นจำนวนมาก แล้วงานชิ้นนี้สามารถสื่อได้น่าสนใจตรงที่ใช้โทรทัศน์มานำเสนอ เปรียบเสมือนให้โทรทัศน์เป็นตัวฉายภาพที่อยู่ในสมอง บอกถึงความสุข ความรัก ความเจ็บปวด บอกถึงทุก ๆอย่างที่รู้สึก...



ชิ้นที่ 3


Cyber Insurrection

Inspiration : ได้รับแรงบันดาลใจจากยุค Cyber Punk ที่มีความเจริญรุ่งเรื่องทางด้านเทคโนโลยีถึงขั้นขีดสุด แต่สงครามและการกบฏ ก็ยังเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้
Concept : เสื้อผ้าคอลเลคชั่นนี้จะเน้น Cyber เป็นหลัก รูปแบบของเสื้อผ้าได้จากการศึกษาสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในภาพยนตร์บวกกับการสร้างพื้นผิวใหม่ให้กับผ้า เน้นให้ผ้ามีมิติมากขึ้น พร้อมทั้งสื่อให้เห็นถึงสงครามและการกบฏ ไปพร้อมกัน
Detail : การสกรีนแป้งยางลงบนแผ่นอะคริลิก ตัดและเจาะรูด้วยเลเซอร์ แล้วปักลงบนผ้า , การทาสีแป้งยางลงบนผืนผ้า และการขึ้นโครงเหล็ก
Material : ผ้าฝ้ายผสมสเป็นเด็กซ์ , ผ้าใยสังเคราะห์ , และแผ่นอะคริลิก


เลือกผลงานชิ้นนี้เพราะเมื่อได้เห็นแล้วอยากทราบว่าผลงานชิ้นนี้มีความคิดเป็นมาอย่างไร ใช้เทคนิคอะไรบ้าง นำมาผสมผสานกันได้อย่างไร แล้วชอบที่มันดูมีพลัง ดูมีอำนาจ และรู้สึกเหมือนว่าถ้าตอนทำสงครามแล้วใส่ชุดนี้คงจะแปลกน่าดูทีเดียว...









วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โครงการที่ 1 โครงการอนุรักษ์ชายฝั่งพังงา








นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วย นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง ณ ฐานทัพเรือพังงา อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ร่วมงานกว่า 1,000 คน

ทั้งนี้กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยมีกิจกรรมปลูกต้นไม้ฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง จำนวน 5,000 ต้น บนเนื้อที่ 50 ไร่ การปล่อยเต่าทะเล 100 ตัว การแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับระบบนิเวศชายฝั่งเวทีแสดงดนตรีเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งและอนุรักษ์เต่าทะเลโดยการปล่อยเต่าทะเลคืนสู่ธรรมชาติ

นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าสำหรับโครงการดังกล่าว เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฐานทัพเรือพังงา และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกต้นไม้ฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง และเพิ่มปริมาณและอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล รวมทั้งเป็นการประสานความร่วมมือในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน

สำหรับป่าชายเลนพังงา จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าชายเลนมากที่สุดในประเทศไทย ยุทธศาสตร์หลักของรัฐกับการฟื้นฟูชุมชน หลังภัยสึนามิ คือ "การส่งเสริมการท่องเที่ยว" การขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวในพื้นที่อ่าวพังงาส่งผลให้เกิดการบุกรุกและทำลายทรัพยากรชายฝั่ง การก่อสร้างท่าเทียบเรือสำราญและวิลล่าหรูรอบชายฝั่งอ่าวพังงาผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในหลายพื้นที่ หลายชุมชน โครงการดังกล่าว จะสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในท้องถิ่นและผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ให้ยังยืนต่อไป



โครงการที่ 2 ไรมอน แลนด์ร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม

บรษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) ประกาศว่า ทางบริษัทได้ตัดสินใจนำเทคโนโลยีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมมาใช้กับโครงการต่างๆ ของบริษัทแล้ว






ภาพตัวอย่าง Double glaze window system
เทคโนโลยีดังกล่าว คือการนำระบบกระจกสองชั้น หรือ double glaze window system ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่อาคารลงครึ่งหนึ่งมาใช้ในทุกยูนิตของโครงการนอร์ทพอยท์ ทั้งนี้ลูกค้าที่ได้จองโครงการไปแล้ว รวมถึงผู้ที่สนใจกำลังพิจารณาซื้อไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ระบบกระจกสองชั้นนี้มักจะประกอบขึ้นด้วยบานกระจกสองแผ่นที่มีช่องว่างอากาศโดยจะเคลือบสารบางอย่างเพื่อสะท้อนความร้อนรวมทั้งบรรจุก๊าซบางชนิดเพื่อลดความชื้น เหมาะอย่างยิ่งกับประเทศที่มีอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับกระจกเคลือบสารแบบเดิมแล้ว กระจกสองชั้นจะมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานมากกว่า เนื่องจากจะช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศภายในและยังช่วยป้องกันเสียงจากภายนอกด้วย สำหรับโครงการเดอะริเวอร์นั้น ทางสถาปนิกผู้ดูแลโครงการได้นำระบบแผงรับแสงอาทิตย์มาใช้ในส่วนที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนกลางแล้ว ยังช่วยลดการใช้คาร์บอนในอาคารด้วย นอกจากนี้ทางบริษัทยังได้นำเทคโนโลยีในการใช้เครื่องทำความร้อนและเย็นที่ได้ใช้กันอยู่ทั่วโลกมาปรับใช้ ตัวอย่างเช่น การใช้แทงค์ส่วนกลางเพื่อช่วยในการทำความเย็นในอาคาร ซึ่งจะช่วยลดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายของผู้อาศัยได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับทางบริษัท แต่ไรมอน แลนด์มีความมุ่งมั่นที่จะนำมาปรับใช้กับโครงการต่างๆ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมกับลูกค้า และเพื่อตอกย้ำถึงสโลแกนของบริษัทที่ว่า “...พัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า” ไรมอน แลนด์จึงได้ทำงานร่วมกับโครงการ Plant-A-Tree-Today ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจากอังกฤษ ในการสร้างสมดุลของการใช้คาร์บอนในอาคาร มร.เฮนรี่ ยัง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของไรมอน แลนด์ กล่าวว่า “เราได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ หลายอย่างมาใช้ในโครงการเพื่อช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อม การร่วมงานกับโครงการ Plant-A-Tree-Today นับเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เราเริ่มต้นทำในสิ่งง่ายๆ ที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ก็ถือว่าเป็นการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว และด้วยเหตุนี้เอง เราจึงสนับสนุนให้พนักงานของเรามีส่วนร่วมในการแสดงจิตสำนึกนี้ รวมทั้งยังสนับสนุนให้นำไปปฏิบัติต่อที่บ้านด้วย”

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552